วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation


ชื่อนางสาวสุมาพร   นามสกุลเทียมมนู    เลขที่19    ห้อง ม.5/10
กลุ่มที่  3
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา.  ปัญหาพ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่น
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
     ปัญหาพ่อแม่ไม่เช้าใจวัยรุ่นเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้เลยไม่มีเวลาได้พูดคุยทำความเข้าใจกับลูก หรือออีกสาเหตุหนึ่งคือการเปลี่ยนไปของสังคมปัจจุบันที่พ่อแม่บางคนอาจจะมีความคิดที่ยังเป็นแบบสมัยก่อนอยู่ แล้วไม่ได้มีการปรับความเข้าใจกัน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาพ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่น
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้น

ผลการศึกษา
    จากผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นสามารถปรับความเข้าใจคุยกันได้ทำให้เกิดเป็นเรื่องที่ดีกับครอบครัว
เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
   แนวคิดคือการปรับความเข้าใจกันภายในครอบครัว รับรู้ความต้องการของคนภายในครอบครัวจะทำให้เข้าใจกันมากขึ้นและไม่เกิดการทะเลาะกันน้อยลง
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
1.ได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้สามัคคีกันมากยิ่งขึ้น
2.ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนความคิดของกันเเละกัน
3.ISทำให้เราได้สร้างสรรค์ผลงานในสิ่งที่เป๋นการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างภาพยนต์

     ภาพยนต์ทุกเรื่องจะให้เราใช้วิจารณญาณในการรับชมมีทั้งแยกอายุของคนดูและอื่นๆแต่ภาพยนต์เรื่องนี้เป็นภาพยนต์ที่ดูได้ทุกเพศทุกวัยสะท้อนให้เห็นถึงสภาพครอบครัว ครอบครัวไม่ใช่มีแต่เพียงพ่อแม่หรือลูกคำว่าครอบครัวในที่นี้หมายถึงการที่คนในครอบครัวมีความรักให้ซึ่งกันและกัน






   ครอบครัว
      ครอบครัว  ถึงแม้จะเป็นหน่วยเล็กหน่วยหนึ่งในสังคม  แต่หน่วยทางสังคมหน่วยเล็กหน่วยนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เป็นพื้นฐานของสังคม  เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อกำเนิดของสมาชิกในสังคม  เป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่อยู่ร่วมกันต้องมีการเรียนรู้และปรับตัว  เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้เป็นครอบครัวใหญ่ในสังคมอย่างสันติ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญแก่ครอบครัวมาเป็นเวลายาวนาน   ตั้งแต่เมื่อ     ปีพ.ศ. 2533 รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี  เป็นวันครอบครัวแห่งชาติด้วย  และเป็นที่สอดคล้องกับในโลกสากล  โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ ปี ค.ศ. 1994   (พ.ศ. 2537) 

                จากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์และภาวะความทันสมัยที่เน้นปัจเจกบุคคลและค่า นิยมในการบริโภคและวัตถุนิยมมากขึ้น ส่งผลต่อค่าครองชีพและแบบแผนของครอบครัว ผลกระทบดังกล่าวจึงส่งผลให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา 






ความเป็นมาของครอบครัว         

     “ครอบครัว” เป็นสถาบันสังคมแรกเริ่มที่มีความสำคัญที่สุด  เพราะเป็นสถาบันพื้นฐาน   ที่มีบทบาทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม  เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่ทางสังคมในการ  ถ่ายทอดค่านิยม  ปลูกฝังความเชื่อ  สร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติตน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่ สมาชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศครอบครัวจึงเปรียบเสมือนจักรกลชั้นแรกที่ ทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการ นำไปสู่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข       
ความเป็นมาของครอบครัว         

     “ครอบครัว” เป็นสถาบันสังคมแรกเริ่มที่มีความสำคัญที่สุด  เพราะเป็นสถาบันพื้นฐาน   ที่มีบทบาทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม  เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่ทางสังคมในการ  ถ่ายทอดค่านิยม  ปลูกฝังความเชื่อ  สร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติตน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่ สมาชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศครอบครัวจึงเปรียบเสมือนจักรกลชั้นแรกที่ ทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการ นำไปสู่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข       






ความหมายของครอบครัว
     ครอบครัวแต่เดิมมีเพียงผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ได้แก่ บิดา มารดา บุตร และแม้จะมี        เครือญาติ  ก็ยังคงหมายถึงผู้ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิตร่วมกัน เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา     ซึ่งต่อมาได้มีนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547- 2556   ได้กำหนดความหมายของครอบครัวไว้กว้าง ๆ ดังนี้

               “ครอบครัว หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันและใช้ชีวิตร่วมกัน    ทำหน้าที่เป็นสถาบันหลัก เป็นแกนกลางของสังคมที่เป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต ครอบครัวมีหลากหลายรูปแบบและหลายลักษณะ นอกเหนือจากครอบครัวที่ครบถ้วนทั้งบิดา มารดาและบุตร
ลักษณะของครอบครัวไทย
                ครอบครัวไทยแต่เดิมมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย   มีสมาชิกครอบครัว   หลายช่วงอายุอย่างน้อย  3 รุ่น  คือ     1) รุ่นปู่ย่า ตายาย   2) รุ่นพ่อแม่   3) รุ่นลูก   เป็นครอบครัวที่มีความร่วมมือกันในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ   การศึกษา   การอบรมเลี้ยงดู   การปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรม    และในอดีตครอบครัวมีบทบาทหน้าที่อย่างน้อย  3  ประการ
1. เป็นแหล่งขัดเกลาทางสังคม (socialization)  ให้การอบรม  การเรียนรู้  การสร้างบุคลิกภาพ  ระบบวิธีคิด การให้คุณค่าของสิ่งต่างๆ
2. เป็นแหล่งถ่ายทอดวิชาชีพและฝึกฝนอาชีพ  การบ่มเพาะให้เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มี  คุณภาพ

3. เป็นแหล่งให้การสังคมสงเคราะห์เบื้องต้น มีความเอื้ออาทร ให้ความช่วยเหลือในเครือญาติในสภาวะวิกฤตต่าง