วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวิติการเกษตร



การเกษตร
ประวัติการเกษตร
      เกษตรกรรมในประเทศไทยอาจสืบย้อนไปได้ผ่านแง่ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสังคม ซึ่งได้ก่อให้เกิดการเข้าถึงเกษตรกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยสมัยใหม่ หลังการปฏิวัติยุคหินใหม่ สังคมในพื้นที่ได้วิวัฒนาจากการล่าสัตว์และหาของป่า ผ่านระยะนครเกษตร ไปเป็นจักรวรรดิรัฐศาสนา การอพยพเข้ามาของคนไทยนำไปสู่การเข้าถึงเกษตรกรรมแบบยั่งยืนอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการประกอบกิจเกษตรกรรมอื่นส่วนมากของโลก
นับตั้งแต่ พ.ศ. 1543 วัฒนธรรมการผลิตข้าวเหนียวของชาวไทเป็นตัวกำหนดโครงสร้างการบริหารในสังคมที่เน้นการปฏิบัติซึ่งผลิตส่วนเกินที่สามารถจำหน่ายได้ จวบจนถึงปัจจุบัน ระบบดังกล่าวได้รวมเป็นหนึ่งกับความมั่นคงของชาติและความอยู่ดีกินดีทางเศรษฐกิจ อิทธิพลของชาวจีนและชาวยุโรปก่อให้เกิดธุรกิจการเกษตรและเริ่มต้นความต้องการที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเกษตรกรรมผ่านการเพิ่มจำนวนของประชากรจนกระทั่งดินแดนที่เข้าถึงได้ขยายออก
พัฒนาการล่าสุดในทางเกษตรกรรม หมายความว่า นับแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 การว่างงานได้ลดลงจากกว่า 60% เหลือต่ำกว่า 10% ในต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ในสมัยเดียวกัน ราคาอาหารลดลงครึ่งหนึ่ง ความหิวโหยลดลง (จาก 2.55 ล้านครัวเรือนใน พ.ศ. 2531 เหลือ 418,000 ครัวเรือนใน พ.ศ. 2550) และทุพภิกขภัยเด็กลดลงอย่างมาก (จาก 17% ใน พ.ศ. 2530 เหลือ 7% ใน พ.ศ. 2549) ซึ่งสามารถบรรลุได้
(ก) ผ่านการผสมระหว่างบทบาทอันเข้มแข็งและเชิงบวกของรัฐในการประกันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและการเข้าถึงเครดิต และ
(ข) การริเริ่มภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจเกษตร

เกษตรกรรมช่วงเปลี่ยนผ่าน
     เกษตรกรรมสามารถขยายตัวได้ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อสามารถเข้าถึงที่ดินใหม่และแรงงานว่างงาน ระหว่าง พ.ศ. 2505 ถึง 2526 ภาคการเกษตรโตขึ้นเฉลี่ย 4.1% ต่อปี และ พ.ศ. 2523 ภาคเกษตรมีถึง 70% ของประชากรทำงาน กระนั้น รัฐยังรับรู้ถึงพัฒนาการในภาคเกษตรว่าจำเป็นต่อการกลายเป็นอุตสาหกรรม (industrialization) และการส่งออกถูกเก็บภาษีเพื่อรักษาราคาภายในประเทศให้ต่ำและเพิ่มรายได้แก่การลงทุนของรัฐในเศรษฐกิจภาคอื่น เมื่อมีการพัฒนาในภาคอื่น แรงงานจึงออกไปแสวงหางานในเศรษฐกิจภาคอื่น และการเกษตรถูกบีบให้ใช้คนน้อยลงและเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยได้รับความสะดวกจากกฎหมายของรัฐซึ่งบังคับให้ธนาคารออกเครดิตราคาถูกให้แก่ภาคเกษตร และได้รับเครดิตของตนผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รัฐยังลงทุนในการศึกษา ชลประทานและถนนชนบทต่อไป ผลคือ การเกษตรเริ่มเติบโตที่ 2.2% ระหว่าง พ.ศ. 2526 และ 2550 แต่ยังเป็นว่าเกษตรกรรมปัจจุบันให้งานคนชนบทเพียงครึ่งหนึ่ง เพราะเกษตรกรกำลังใช้ประโยชน์จากการลงทุนเพื่อให้มีความหลากหลาย
แม้เกษตรกรรมมีความสำคัญในทางการเงินสัมพัทธ์ถดถอยลงในแง่ของรายได้เทียบกับการที่ประเทศไทยกลายเป็นอุตสาหกรรมและแผลงเป็นอเมริกัน (Americanization) นับจากคริสต์ทศวรรษ 1960 แต่เกษตรกรรมยังให้ประโยชน์ด้านการจ้างงานและการพึ่งพาตนเอง การสนับสนุนสังคมชนบท และการปกป้องวัฒนธรรม กำลังโลกาภิวัตน์ทางเทคนิคและเศรษฐกิจบีบได้ดำเนินการเปลี่ยนเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมอาหารต่อไป และดังนั้น เกษตรกรผู้ถือครองรายย่อยจึงได้รับความเสี่ยง ธรรมชาติดั้งเดิมและคุณค่ามนุษย์ลดลงอย่างมากในทุกพื้นที่ยกเว้นพื้นที่ยากจน
ธุรกิจเกษตร ทั้งที่รัฐและเอกชนเป็นเจ้าของ ขยายตัวนับจากคริสต์ทศวรรษ 1960 และเกษตรกรยั่งยืนถูกบางส่วนมองว่าเป็นมรดกสืบทอดจากอดีตจากเดิมที่สามารถทำให้ทันสมัยเป็นธุรกิจเกษตรได้ อย่างไรก็ดี ระบบการผลิตผสมผสานเข้มข้นเกษตรยั่งยืนยังให้ประสิทธิภาพ ซึ่งอาจไม่ใช่ทางการเงิน แต่รวมถึงประโยชน์ทางสังคมซึ่งปัจจุบันทำให้เกษตรกรรมถูกปฏิบัติเป็นทั้งภาคสังคมและเศรษฐกิจในการวางแผน ด้วยความตระหนักถึงคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้น "เกษตรกรอาชีพ" คิดเป็น 19.5% ของเกษตรกรทั้งหมดใน พ.ศ. 2547
ด้านที่เป็นเอกลักษณ์ของเกษตรกรรมไทยมีเทคโนโลยีชลประทานซึ่งมีมากว่าสหัสวรรษ นอกจากนี้ ยังมีโครงสร้างบริหารจัดการซึ่งกำเนิดจากการควบคุมน้ำเพื่อการเกษตร ประเทศไทยเป็นผู้นำระดับโลกในการผลิตและส่งออกโภคภัณฑ์การเกษตรหลายชนิด และภาคธุรกิจเกษตรของไทยมีหนึ่งในบรรษัทข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดของโลกรวมอยู่ด้วย ยังมีศักยะที่ผลิตภาพจะเพิ่มขึ้นอีกมากจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ปัจจุบัน
ประเทศไทยเป็นผู้นำโลกในการผลิตและส่งออกข้าว ยาง สับปะรดกระป๋อง และกุ้งกุลาดำ เป็นผู้นำภูมิภาคเอเชียในการส่งออกเนื้อไก่ และโภคภัณฑ์อื่นอีกหลายรายการ และเลี้ยงคนได้มากกว่าสี่เท่าของประชากรทั้งประเทศ ประเทศไทยยังแสวงหาการส่งออกปศุสัตว์เพิ่มขึ้นอีก

การประกอบอาชีพด้านการเกษตร
เกษตรกรรมในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายด้าน คือ
·         การทำนา มีการทำทุกภาค แต่ภาคกลางมีการทำนามากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ทำนามากที่สุดของประเท
·         การทำสวนยางพารา พบมากในภาคใต้และจังหวัดจันทบุรี ตลอดจนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย นอกจากนี้ ยังมีการปลูกสวนปาล์มน้ำมันด้วยเช่นกัน
·         การทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย ส้ม สับปะรด แตงโม กล้วย ขนุน มะม่วง ละมุด พุทรา องุ่น น้อยหน่า ลางสาด
·         การทำพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย ปอ ฝ้าย นุ่น ละหุ่ง มะพร้าว มันสำปะหลัง ยาสูบ พริกไทย ตาล ถั่วต่าง ๆ
·         การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร โค กระบือ เป็ด ไก่ ห่าน ไหม ช้าง ม้า ลา ล่อ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น