วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation


ชื่อนางสาวสุมาพร   นามสกุลเทียมมนู    เลขที่19    ห้อง ม.5/10
กลุ่มที่  3
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา.  ปัญหาพ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่น
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
     ปัญหาพ่อแม่ไม่เช้าใจวัยรุ่นเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้เลยไม่มีเวลาได้พูดคุยทำความเข้าใจกับลูก หรือออีกสาเหตุหนึ่งคือการเปลี่ยนไปของสังคมปัจจุบันที่พ่อแม่บางคนอาจจะมีความคิดที่ยังเป็นแบบสมัยก่อนอยู่ แล้วไม่ได้มีการปรับความเข้าใจกัน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาพ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่น
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้น

ผลการศึกษา
    จากผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นสามารถปรับความเข้าใจคุยกันได้ทำให้เกิดเป็นเรื่องที่ดีกับครอบครัว
เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
   แนวคิดคือการปรับความเข้าใจกันภายในครอบครัว รับรู้ความต้องการของคนภายในครอบครัวจะทำให้เข้าใจกันมากขึ้นและไม่เกิดการทะเลาะกันน้อยลง
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
1.ได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้สามัคคีกันมากยิ่งขึ้น
2.ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนความคิดของกันเเละกัน
3.ISทำให้เราได้สร้างสรรค์ผลงานในสิ่งที่เป๋นการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างภาพยนต์

     ภาพยนต์ทุกเรื่องจะให้เราใช้วิจารณญาณในการรับชมมีทั้งแยกอายุของคนดูและอื่นๆแต่ภาพยนต์เรื่องนี้เป็นภาพยนต์ที่ดูได้ทุกเพศทุกวัยสะท้อนให้เห็นถึงสภาพครอบครัว ครอบครัวไม่ใช่มีแต่เพียงพ่อแม่หรือลูกคำว่าครอบครัวในที่นี้หมายถึงการที่คนในครอบครัวมีความรักให้ซึ่งกันและกัน






   ครอบครัว
      ครอบครัว  ถึงแม้จะเป็นหน่วยเล็กหน่วยหนึ่งในสังคม  แต่หน่วยทางสังคมหน่วยเล็กหน่วยนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เป็นพื้นฐานของสังคม  เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อกำเนิดของสมาชิกในสังคม  เป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่อยู่ร่วมกันต้องมีการเรียนรู้และปรับตัว  เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้เป็นครอบครัวใหญ่ในสังคมอย่างสันติ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญแก่ครอบครัวมาเป็นเวลายาวนาน   ตั้งแต่เมื่อ     ปีพ.ศ. 2533 รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี  เป็นวันครอบครัวแห่งชาติด้วย  และเป็นที่สอดคล้องกับในโลกสากล  โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ ปี ค.ศ. 1994   (พ.ศ. 2537) 

                จากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์และภาวะความทันสมัยที่เน้นปัจเจกบุคคลและค่า นิยมในการบริโภคและวัตถุนิยมมากขึ้น ส่งผลต่อค่าครองชีพและแบบแผนของครอบครัว ผลกระทบดังกล่าวจึงส่งผลให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา 






ความเป็นมาของครอบครัว         

     “ครอบครัว” เป็นสถาบันสังคมแรกเริ่มที่มีความสำคัญที่สุด  เพราะเป็นสถาบันพื้นฐาน   ที่มีบทบาทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม  เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่ทางสังคมในการ  ถ่ายทอดค่านิยม  ปลูกฝังความเชื่อ  สร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติตน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่ สมาชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศครอบครัวจึงเปรียบเสมือนจักรกลชั้นแรกที่ ทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการ นำไปสู่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข       
ความเป็นมาของครอบครัว         

     “ครอบครัว” เป็นสถาบันสังคมแรกเริ่มที่มีความสำคัญที่สุด  เพราะเป็นสถาบันพื้นฐาน   ที่มีบทบาทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม  เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่ทางสังคมในการ  ถ่ายทอดค่านิยม  ปลูกฝังความเชื่อ  สร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติตน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่ สมาชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศครอบครัวจึงเปรียบเสมือนจักรกลชั้นแรกที่ ทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการ นำไปสู่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข       






ความหมายของครอบครัว
     ครอบครัวแต่เดิมมีเพียงผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ได้แก่ บิดา มารดา บุตร และแม้จะมี        เครือญาติ  ก็ยังคงหมายถึงผู้ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิตร่วมกัน เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา     ซึ่งต่อมาได้มีนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547- 2556   ได้กำหนดความหมายของครอบครัวไว้กว้าง ๆ ดังนี้

               “ครอบครัว หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันและใช้ชีวิตร่วมกัน    ทำหน้าที่เป็นสถาบันหลัก เป็นแกนกลางของสังคมที่เป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต ครอบครัวมีหลากหลายรูปแบบและหลายลักษณะ นอกเหนือจากครอบครัวที่ครบถ้วนทั้งบิดา มารดาและบุตร
ลักษณะของครอบครัวไทย
                ครอบครัวไทยแต่เดิมมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย   มีสมาชิกครอบครัว   หลายช่วงอายุอย่างน้อย  3 รุ่น  คือ     1) รุ่นปู่ย่า ตายาย   2) รุ่นพ่อแม่   3) รุ่นลูก   เป็นครอบครัวที่มีความร่วมมือกันในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ   การศึกษา   การอบรมเลี้ยงดู   การปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรม    และในอดีตครอบครัวมีบทบาทหน้าที่อย่างน้อย  3  ประการ
1. เป็นแหล่งขัดเกลาทางสังคม (socialization)  ให้การอบรม  การเรียนรู้  การสร้างบุคลิกภาพ  ระบบวิธีคิด การให้คุณค่าของสิ่งต่างๆ
2. เป็นแหล่งถ่ายทอดวิชาชีพและฝึกฝนอาชีพ  การบ่มเพาะให้เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มี  คุณภาพ

3. เป็นแหล่งให้การสังคมสงเคราะห์เบื้องต้น มีความเอื้ออาทร ให้ความช่วยเหลือในเครือญาติในสภาวะวิกฤตต่าง 
สถานการณ์ของครอบครัวไทย
            สถานการณ์สังคมที่เปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อครอบครัวและบุคคล ครอบครัวจึงเกิดการปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้าง  รูปแบบ ขนาดของครอบครัวและวิถีชีวิต  รวมทั้งสภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว 

   1. โครงสร้างประชากร
             สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดประมาณการประชากร ของประเทศไทยจากปี  2543 – 2568 ไว้ว่า จากปี พ.ศ. 2545 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2552  ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการปันผลทางประชากรซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรวัยแรง งานยังคงเพิ่มขึ้น หลังจากนี้ประชากรวัยเด็กจะลดลงจากร้อยละ23.88 ในปี 2545  เป็นร้อย 17.6 ในปี 2568 และสัดส่วนประชากรวัยแรงงานจะลดลงจากร้อยละ 66.38 เป็นร้อยละ  62.05 ขณะที่สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 9.74 ในปี  2545  เป็นร้อยละ 19.99  ในปี 2568ทำให้ครอบครัวต้องรับภาระในการเลี้ยงดูและการพึ่งพิงสูง

    2 . โครงสร้างของครอบครัว                                                       
             จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างรวด เร็ว มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่  สังคมไทยซึ่งแต่เดิมเป็นสังคมชนบท มีความเอื้ออาทรต่อกันมีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น  โครงสร้างครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมในอดีต  ซึ่งเคยเป็นครอบครัวขยาย   แต่จากผลการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3- 7  ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลักโดยมีนโยบายด้านการวางแผนครอบครัว เพื่อมุ่งลดอัตราการเพิ่มของประชากรในครัวเรือนและนโยบายปรับปรุงคุณภาพ ประชากรและการพัฒนาจิตใจ เพื่อให้มีศักยภาพและมีความพร้อมต่อการพัฒนาและแข่งขันทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการพัฒนาสถาบันครอบครัวในทางอ้อมอัตราการเกิดลดลง ครอบครัวมีอายุยืนและมีความสามารถในการทำงานมากขึ้น ในปี 2545 มีครอบครัวขยายเพียงร้อยละ  32.1 ครอบครัวเดี่ยวมีถึงร้อยละ 55.5  นอกจากนี้    ยังพบว่า หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นหญิงมีจำนวนมากขึ้น

   3. รูปแบบครอบครัว
                ผลของการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นอกจากส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวแล้ว  ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อรูปแบบของครอบครัวด้วย  จากข้อมูลสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2542-2545 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า ครอบครัวไทยในปัจจุบันมิได้ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และ   เครือญาติดังเช่นแต่ก่อน แต่มีหลายรูปแบบ ดังนี้
     ครอบครัวขยาย    ครอบครัวขยายที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ปู่ย่าตายาย และหรือพี่น้อง ยังคงมีอยู่ในสังคมไทยแต่มีจำนวนลดลง พบว่าปี  2545 มีครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยายเพียงร้อยละ 32.1 
     ครอบครัวเดี่ยว  ครอบครัวเดี่ยว ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพ่อ แม่และลูก โดยส่วนใหญ่ครอบครัวจะมีลูกจำนวน 1-3  คน ครอบครัวที่อยู่คนเดียว   มีคนที่อาศัยอยู่ตามลำพังมากขึ้น  โดยปี 2542  มีคนที่อาศัยอยู่คนเดียวร้อยละ  11.0 เป็นร้อยละ 11.5 และ  11.8 ในปี 2544  และ 2545 ตามลำดับซึ่งแสดงให้เห็นว่าหญิงหรือชายพอใจที่จะอยู่เป็นโสดมากขึ้น ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงลูกตามลำพัง    หมายถึงครอบครัวที่มีเพียงพ่อหรือแม่ และลูก เนื่องจากสาเหตุของการหย่าร้าง การเป็นหม้าย แยกทาง การทอดทิ้ง
      ครอบครัวที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม คือครอบครัวที่สามีและภรรยาไม่สามารถมีบุตรร่วมกันได้และมีความประสงค์ที่จะ ขอรับเด็กมาอุปการะเป็นบุตรซึ่งมีจำนวนมากขึ้น

   4. ปัญหาวิกฤตของครอบครัว
                 จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างรวด เร็ว  มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่  สังคมไทยซึ่งแต่เดิมเป็นสังคมชนบท มีความเอื้ออาทรต่อกันมีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ซึ่งมีผล  ต่อปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัวทั้งทางลบและทางบวก อันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤติที่ครอบครัวเผชิญอยู่  ดังนี้
               
                1.  ปัญหาเศรษฐกิจ
                2.  ความสัมพันธ์ในครอบครัว
                3.  การสมรสน้อยลงและการหย่าร้างเพิ่มขึ้น
                4.  เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
                5. พฤติกรรมไม่เหมาะสมของวัยรุ่น                                   
                6.  ความรุนแรงในครอบครัว
                7.  ยาเสพติด
5. สาเหตุของปัญหาครอบครัว
          นโยบายและแผนในการพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2537 –2546 ได้ชี้ให้เห็นสาเหตุแห่งปัญหาครอบครัวที่สำคัญ ดังนี้
      1.ความไม่พร้อมและไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นครอบครัว การขาดความพร้อมของพ่อแม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพ อายุที่เหมาะสม ไม่เป็นโรคติดต่อความสามารถเพียงพอที่จะประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นต้น
     2.สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน   ส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำ หน้าที่ บทบาทของตนได้อย่างสมบูรณ์ และไม่อาจปรับตนเองได้
     3.สังคมไม่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัว  ว่า ครอบครัวมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงขาดจิตสำนึกและพลังร่วมกันจากทุกสถานบันในสังคม
     4.สื่อมวลชนเป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพล อย่างยิ่งต่อครอบครัวและสมาชิกของสังคมโดยสื่อมวลชนยังไม่ได้ให้ความสนใจใน การพัฒนาครอบครัวเพียงพอ


แนวโน้มที่เกิดจากผละกระทบจากปัญหาครอบครัว
                จากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์และภาวะความทันสมัยที่เน้นปัจเจกบุคลและค่า นิยมในการบริโภคและวัตถุนิยมมากขึ้น ส่งผลต่อค่าครองชีพและแบบแผนของครอบครัว   ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลให้ครอบครัวมีแนวโน้มประสบปัญหา  ดังนี้
     1. โครงสร้างของครอบครัวทั้งในเมืองและในชนบทที่เป็นครอบครัวเดี่ยวจะมีแนวโน้มที่ขนาดของ ครอบครัวเล็กลง
     2. โครงสร้างของครอบครัวที่ประกอบด้วยบุคคลสองวัย คือ ผู้สูงอายุและเด็กจะมีมากขึ้นโดยเฉพาะในชนบทเนื่องจากการที่หนุ่มสาววัยแรง งานอพยพเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่
     3. ผู้สูงอายุในชนบทที่เคยมีบทบาทในการถ่ายทอดคุณธรรมและวัฒนธรรมให้แก่ ลูกหลาน และเป็นวัยที่ควรจะได้รับการดูแล  เอาใจใส่จากลูกหลาน  จะถูกปรับเปลี่ยนบทบาทและรับภาระมากขึ้น
     4. ครอบครัวที่สามีและภรรยาอยู่ร่วมกันโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสมีมากขึ้น  เนื่องจากค่านิยมในการรักอิสระ และไม่ต้องการพึ่งพิงกัน
     5. ครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงลูกตามลำพังมีมากขึ้น  เนื่องจากอัตราการหย่าร้างที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  การแยกกันอยู่ของครอบครัว
     6. การเลี้ยงดูเด็กของครอบครัว   พ่อแม่จะมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกและการอยู่กับลูกสั้นลง  เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและการให้ความสำคัญกับบทบาททางหน้าที่การงาน มากกว่าครอบครัว
     7. เด็กกำพร้าพ่อหรือแม่หรือทั้งพ่อและแม่อันเนื่องมาจากพ่อแม่เสียชีวิต จากการติดเชื้อเอดส์  มีจำนวนมากขึ้น  จากข้อมูลสถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดลประมาณการว่า ในปี  2543  มีกลุ่มเด็กอายุ 0- 5ปี ที่กำพร้าเพราะพ่อ แม่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ จำนวน  30,845  คน



แนวทางการดำเนินงานด้านครอบครัว     
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  6  (พ.ศ. 2530 – 2534)  กำหนด ให้มีแผนพัฒนากำลังคน สังคมและวัฒนธรรม  โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมในระดับพื้นฐาน คือ คน ครอบครัวและชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533
                 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)  เริ่มกำหนดมาตรการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว สนับสนุนความร่วมมือระหว่างครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ให้เกิดความตระหนักต่อปัญหา การจัดการกับปัญหา การเปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านคำปรึกษา

1.  นโยบายและแผนระยะยาวด้านครอบครัว พ.ศ. 2537 - 2546
                 ในปี 2537  คณะอนุกรรมการด้านครอบครัวได้ร่วมกันจัดทำนโยบายและแผนการพัฒนาสถาบันครอบ ครัวขึ้นเป็นครั้งแรก  คือ ร่างนโยบายและแผนระยะยาวด้านครอบครัว พ.ศ.2537 –2546  เพื่อเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาครอบครัวที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และวันที่ 26  สิงหาคม 2540  คณะรัฐมนตรี

นโยบาย
     1. สนับสนุนให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงเพื่อทำหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตาม   คุณลักษณะของครอบครัวไทยที่พึงประสงค์
     2. ส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวได้เข้าในบทบาทของสามีภรรยา  บิดา มารดาลูกหลาน และผู้สูงอายุ  เพื่อให้ประสานเกื้อกูลความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้นมากขึ้น
     3. ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดี และการเคารพในคุณค่าและสิทธิของกันและกันในระหว่างสมาชิกภายในครอบ ครัว                                                                         
     4. รณรงค์ให้มีการคุ้มครองครอบครัว  ตลอดจนสวัสดิการและบริการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา   ครอบครัวส่งเสริมการศึกษาวิจัยด้านครอบครัวให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ข้อสนเทศเกี่ยวกับครอบครัว
     5. ให้มีกลไกดำเนินงาน  การจัดการ การประสานงานและการติดตามและประเมินผลงาน
     6. สนับสนุนให้องค์กรเอกชน  ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรชุมชนและประชาคม รวมทั้งเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัวอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

แผนงาน
     1. แผนพัฒนาศักยภาพครอบครัว         
            ให้ความรู้ด้านการเป็นสามีภรรยาที่ดีและการเป็นบิดามารดาที่เหมาะสม และรับผิดชอบกับคู่สมรสก่อนแต่งงานและเพิ่งแต่งงาน เพื่อเตรียมพร้อมจะมีครอบครัวและเป็นการป้องกันปัญหาครอบครัว    ให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสามี ภรรยาที่ดี  มีคุณธรรมและการดำเนินชีวิตครอบครัวให้ร่มเย็นเป็นสุข ให้ความรู้ด้านจิตวิทยาของผู้สูงอายุแก่ทั้งผู้สูงอายุและครอบครัวที่มีผู้ สูงอายุ รวมทั้งการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ
      2. แผนพัฒนาด้านกฎหมาย
      ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวกับครอบครัว เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดี
และการเคารพในคุณค่าและสิทธิของกันและกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวเผยแพร่ กฎหมาย กฎ ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับครอบครัวและเกี่ยวกับการดำเนินการด้านนิติกรรมที่จำเป็นต่อการ ดำรงชีวิตในครอบครัว
     3. แผนงานด้านคุ้มครองและสวัสดิการ
         พัฒนาคุณภาพและขยายบริการแนะแนวและบริการให้คำปรึกษา หารือเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวให้กระจายตัวมากขึ้น รณรงค์ให้หน่วยงานราชการและภาคเอกชนจัดบริการช่วยแก้ไขปัญหาแก่ครอบครัว และให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่ด้านนี้ให้แก่  องค์กรที่เกี่ยวข้อง
     4. แผนงานด้านวิจัยและด้านข้อมูลข้อสนเทศ
         ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการศึกษาวิจัยในงานด้านต่าง ๆ เช่น การวิจัยศึกษาสภาวะ โครงสร้าง  เป็นต้น   การวิจัยเปรียบเทียบเรื่องครอบครัวที่มาจากลักษณะเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ การศึกษาและพัฒนาระบบสวัสดิการครอบครัวที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย
     5. แผนพัฒนากลไก องค์กรชุมชนและประชาคม  การจัดการ  การระดมทรัพยากร  การติดตามและประเมินผลงาน ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นทุกประเภทและระดับมีหน้าที่พัฒนาสถาบันครอบครัวรวม ทั้งให้มีการสนับสนุนส่งเสริมให้ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เทศมนตรี อาสาสมัคร   ชุมชน เป็นต้น ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นสมาชิกครอบครัวที่รับผิดชอบ ตลอดจนยุติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว

2.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ
       มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  20  เมษายน  2547   เห็นชอบในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการที่สำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมตินำเสนอ โดยได้มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใช้เป็นกรอบใน การจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547 –2556  และแผนปฏิบัติงานปี 2548  ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ประกอบด้วยสาระสำคัญ
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนา  ประกอบด้วย
      การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม โดย รณรงค์ ให้ความรู้และปรับเจตคติของประชาชนให้มีทักษะชีวิตที่เหมาะสมในทุกช่วงวัย เช่น การเตรียมความพร้อมก่อนสมรส การเลี้ยงดูและอบรมบุตร การเสริมสร้างจริยธรรม คุณธรรมและจิตสำนึกสาธารณะ ฯลฯ
                การสร้างระบบและกลไกการบริหารจัดการให้เกื้อหนุนการสร้างครอบครัว ที่เข้มแข็ง โดยการสร้างและปรับระบบ/กลไกการบริหารจัดการส่งเสริมให้กลไกการทำงานของภาคี ต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชนร่วมมือกันอย่างเป็นเครือข่ายในการจัดบริการแก่ครอบครัวแบบ เบ็ดเสร็จ ครบวงจร (One stop service) สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวและเครือญาติบนพื้นฐานวัฒนธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกันรณรงค์ให้มีการ  ลด ละ เลิกปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของปัญหาครอบครัว เช่น อบายมุข สุรา สถานบันเทิง ฯลฯ
2. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547-2556
            ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติ   ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว จำเป็นต้องคำนึงถึงแนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์หลัก 4 แนวทาง ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์หลักการพัฒนาศักยภาพของครอบครัวแบบองค์รวม
2. ยุทธศาสตร์หลักการสร้างหลักประกันคุ้มครองทางสังคมของครอบครัว
3.  ยุทธศาสตร์หลักการสร้างระบบกลไกบริหารจัดการให้เกื้อหนุนความเข้มแข็งของครอบครัว
4. ยุทธศาสตร์หลักการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายทางสังคมเพื่อพัฒนาครอบครัว

ปรัชญา
                สมาชิกในครอบครัวมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ปฏิบัติหน้าที่ของตน และมีบทบาทสาคัญในการสร้างคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ครอบครัวมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนและสังคมให้มีความสุขและมีคุณภาพ
วิสัยทัศน์
                1. ครอบครัวมีความมั่นคง เข้มแข็ง เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและสันติสุข เป็นแหล่งสร้างและปลูกฝังความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เต็มตามศักยภาพ มีคุณธรรม และเป็นพลังของสังคม
                2. ครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และมีบทบาทสาคัญสาหรับการดาเนินชีวิตให้เจริญเติบโต การคุ้มครองช่วยเหลือ และการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กและเยาวชน ให้สามารถมีความรับผิดชอบต่อตนเองและชุมชน ได้อย่างเต็มที่
                3. ครอบครัวสามารถพึ่งตนเองได้ สมาชิกเคารพในสิทธิของกันและกัน อยู่กันด้วยความรักความเข้าใจ การให้อภัย และมีความเอื้ออาทร มีความหนักแน่นอดทน มีความรับผิดชอบและรู้จักบทบาทหน้าที่ของตน
                4. ครอบครัวรู้จักรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย สามารถปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลก


พันธกิจ
รัฐและองค์กรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
1. ให้ความสาคัญและสร้างจิตสานึกร่วมกันพัฒนาสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่บั่นทอนครอบครัว และคุ้มครอง ช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหา
2. สนับสนุนทรัพยากรและพัฒนากลไกองค์กรและบุคลากรเพื่อพัฒนาสถาบันครอบครัว
3. พัฒนาและเผยแพร่กฎหมาย และองค์ความรู้ด้านครอบครัว

หน่วยงานที่มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาครอบครัว
1. องค์การสหประชาชาติ
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
4. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  มหาวิทยาลัยมหิดล

5. ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน
 แนวทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว
            รู้จักการถนอมน้ำใจกัน   ในการอยู่ร่วมกัน  ต้องมีการรับผิดชอบมากกว่าเดิม เช่นในการ หาเลี้ยงชีพ  การเลี้ยงดู ควรศึกษาพฤติกรรมและสุขภาพของแต่ละฝ่าย ในเรื่องของความพร้อม ความเป็นไปได้ ความเสี่ยงต่อปัญหาภายในอนาคต เช่น ความเป็นแม่ที่ดีของลูก หรือความเป็นพ่อในการแบกรับภาระ มีการวางแผนชีวิตครอบครัวภายในอนาคต ควรเตรียมความพร้อมด้านการเงิน

ให้ความสำคัญกับผู้ที่อุปการะเลี้ยงดู คือบิดา มารดา เช่นการไปเยี่ยมเยื่อน การพูดคุย หรือมั่นทำกิจกรรมร่วมกัน ดูแลเอาใจใส่ เป็นต้น ควรใช้หลักพื้นฐานในการเชื่อใจกัน รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เช่นการคบเพื่อนต่างเพศหรือเพื่อนฝูงเก่าๆในอดีต หรือข่าวลือด้านต่างๆ