วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แนวทางการดำเนินงานด้านครอบครัว     
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  6  (พ.ศ. 2530 – 2534)  กำหนด ให้มีแผนพัฒนากำลังคน สังคมและวัฒนธรรม  โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมในระดับพื้นฐาน คือ คน ครอบครัวและชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533
                 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)  เริ่มกำหนดมาตรการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว สนับสนุนความร่วมมือระหว่างครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ให้เกิดความตระหนักต่อปัญหา การจัดการกับปัญหา การเปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านคำปรึกษา

1.  นโยบายและแผนระยะยาวด้านครอบครัว พ.ศ. 2537 - 2546
                 ในปี 2537  คณะอนุกรรมการด้านครอบครัวได้ร่วมกันจัดทำนโยบายและแผนการพัฒนาสถาบันครอบ ครัวขึ้นเป็นครั้งแรก  คือ ร่างนโยบายและแผนระยะยาวด้านครอบครัว พ.ศ.2537 –2546  เพื่อเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาครอบครัวที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และวันที่ 26  สิงหาคม 2540  คณะรัฐมนตรี

นโยบาย
     1. สนับสนุนให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงเพื่อทำหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตาม   คุณลักษณะของครอบครัวไทยที่พึงประสงค์
     2. ส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวได้เข้าในบทบาทของสามีภรรยา  บิดา มารดาลูกหลาน และผู้สูงอายุ  เพื่อให้ประสานเกื้อกูลความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้นมากขึ้น
     3. ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดี และการเคารพในคุณค่าและสิทธิของกันและกันในระหว่างสมาชิกภายในครอบ ครัว                                                                         
     4. รณรงค์ให้มีการคุ้มครองครอบครัว  ตลอดจนสวัสดิการและบริการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา   ครอบครัวส่งเสริมการศึกษาวิจัยด้านครอบครัวให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ข้อสนเทศเกี่ยวกับครอบครัว
     5. ให้มีกลไกดำเนินงาน  การจัดการ การประสานงานและการติดตามและประเมินผลงาน
     6. สนับสนุนให้องค์กรเอกชน  ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรชุมชนและประชาคม รวมทั้งเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัวอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

แผนงาน
     1. แผนพัฒนาศักยภาพครอบครัว         
            ให้ความรู้ด้านการเป็นสามีภรรยาที่ดีและการเป็นบิดามารดาที่เหมาะสม และรับผิดชอบกับคู่สมรสก่อนแต่งงานและเพิ่งแต่งงาน เพื่อเตรียมพร้อมจะมีครอบครัวและเป็นการป้องกันปัญหาครอบครัว    ให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสามี ภรรยาที่ดี  มีคุณธรรมและการดำเนินชีวิตครอบครัวให้ร่มเย็นเป็นสุข ให้ความรู้ด้านจิตวิทยาของผู้สูงอายุแก่ทั้งผู้สูงอายุและครอบครัวที่มีผู้ สูงอายุ รวมทั้งการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ
      2. แผนพัฒนาด้านกฎหมาย
      ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวกับครอบครัว เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดี
และการเคารพในคุณค่าและสิทธิของกันและกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวเผยแพร่ กฎหมาย กฎ ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับครอบครัวและเกี่ยวกับการดำเนินการด้านนิติกรรมที่จำเป็นต่อการ ดำรงชีวิตในครอบครัว
     3. แผนงานด้านคุ้มครองและสวัสดิการ
         พัฒนาคุณภาพและขยายบริการแนะแนวและบริการให้คำปรึกษา หารือเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวให้กระจายตัวมากขึ้น รณรงค์ให้หน่วยงานราชการและภาคเอกชนจัดบริการช่วยแก้ไขปัญหาแก่ครอบครัว และให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่ด้านนี้ให้แก่  องค์กรที่เกี่ยวข้อง
     4. แผนงานด้านวิจัยและด้านข้อมูลข้อสนเทศ
         ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการศึกษาวิจัยในงานด้านต่าง ๆ เช่น การวิจัยศึกษาสภาวะ โครงสร้าง  เป็นต้น   การวิจัยเปรียบเทียบเรื่องครอบครัวที่มาจากลักษณะเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ การศึกษาและพัฒนาระบบสวัสดิการครอบครัวที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย
     5. แผนพัฒนากลไก องค์กรชุมชนและประชาคม  การจัดการ  การระดมทรัพยากร  การติดตามและประเมินผลงาน ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นทุกประเภทและระดับมีหน้าที่พัฒนาสถาบันครอบครัวรวม ทั้งให้มีการสนับสนุนส่งเสริมให้ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เทศมนตรี อาสาสมัคร   ชุมชน เป็นต้น ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นสมาชิกครอบครัวที่รับผิดชอบ ตลอดจนยุติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว

2.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ
       มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  20  เมษายน  2547   เห็นชอบในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการที่สำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมตินำเสนอ โดยได้มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใช้เป็นกรอบใน การจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547 –2556  และแผนปฏิบัติงานปี 2548  ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ประกอบด้วยสาระสำคัญ
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนา  ประกอบด้วย
      การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม โดย รณรงค์ ให้ความรู้และปรับเจตคติของประชาชนให้มีทักษะชีวิตที่เหมาะสมในทุกช่วงวัย เช่น การเตรียมความพร้อมก่อนสมรส การเลี้ยงดูและอบรมบุตร การเสริมสร้างจริยธรรม คุณธรรมและจิตสำนึกสาธารณะ ฯลฯ
                การสร้างระบบและกลไกการบริหารจัดการให้เกื้อหนุนการสร้างครอบครัว ที่เข้มแข็ง โดยการสร้างและปรับระบบ/กลไกการบริหารจัดการส่งเสริมให้กลไกการทำงานของภาคี ต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชนร่วมมือกันอย่างเป็นเครือข่ายในการจัดบริการแก่ครอบครัวแบบ เบ็ดเสร็จ ครบวงจร (One stop service) สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวและเครือญาติบนพื้นฐานวัฒนธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกันรณรงค์ให้มีการ  ลด ละ เลิกปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของปัญหาครอบครัว เช่น อบายมุข สุรา สถานบันเทิง ฯลฯ
2. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547-2556
            ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติ   ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว จำเป็นต้องคำนึงถึงแนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์หลัก 4 แนวทาง ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์หลักการพัฒนาศักยภาพของครอบครัวแบบองค์รวม
2. ยุทธศาสตร์หลักการสร้างหลักประกันคุ้มครองทางสังคมของครอบครัว
3.  ยุทธศาสตร์หลักการสร้างระบบกลไกบริหารจัดการให้เกื้อหนุนความเข้มแข็งของครอบครัว
4. ยุทธศาสตร์หลักการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายทางสังคมเพื่อพัฒนาครอบครัว

ปรัชญา
                สมาชิกในครอบครัวมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ปฏิบัติหน้าที่ของตน และมีบทบาทสาคัญในการสร้างคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ครอบครัวมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนและสังคมให้มีความสุขและมีคุณภาพ
วิสัยทัศน์
                1. ครอบครัวมีความมั่นคง เข้มแข็ง เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและสันติสุข เป็นแหล่งสร้างและปลูกฝังความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เต็มตามศักยภาพ มีคุณธรรม และเป็นพลังของสังคม
                2. ครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และมีบทบาทสาคัญสาหรับการดาเนินชีวิตให้เจริญเติบโต การคุ้มครองช่วยเหลือ และการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กและเยาวชน ให้สามารถมีความรับผิดชอบต่อตนเองและชุมชน ได้อย่างเต็มที่
                3. ครอบครัวสามารถพึ่งตนเองได้ สมาชิกเคารพในสิทธิของกันและกัน อยู่กันด้วยความรักความเข้าใจ การให้อภัย และมีความเอื้ออาทร มีความหนักแน่นอดทน มีความรับผิดชอบและรู้จักบทบาทหน้าที่ของตน
                4. ครอบครัวรู้จักรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย สามารถปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลก


พันธกิจ
รัฐและองค์กรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
1. ให้ความสาคัญและสร้างจิตสานึกร่วมกันพัฒนาสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่บั่นทอนครอบครัว และคุ้มครอง ช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหา
2. สนับสนุนทรัพยากรและพัฒนากลไกองค์กรและบุคลากรเพื่อพัฒนาสถาบันครอบครัว
3. พัฒนาและเผยแพร่กฎหมาย และองค์ความรู้ด้านครอบครัว

หน่วยงานที่มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาครอบครัว
1. องค์การสหประชาชาติ
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
4. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  มหาวิทยาลัยมหิดล

5. ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น