วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สถานการณ์ของครอบครัวไทย
            สถานการณ์สังคมที่เปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อครอบครัวและบุคคล ครอบครัวจึงเกิดการปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้าง  รูปแบบ ขนาดของครอบครัวและวิถีชีวิต  รวมทั้งสภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว 

   1. โครงสร้างประชากร
             สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดประมาณการประชากร ของประเทศไทยจากปี  2543 – 2568 ไว้ว่า จากปี พ.ศ. 2545 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2552  ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการปันผลทางประชากรซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรวัยแรง งานยังคงเพิ่มขึ้น หลังจากนี้ประชากรวัยเด็กจะลดลงจากร้อยละ23.88 ในปี 2545  เป็นร้อย 17.6 ในปี 2568 และสัดส่วนประชากรวัยแรงงานจะลดลงจากร้อยละ 66.38 เป็นร้อยละ  62.05 ขณะที่สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 9.74 ในปี  2545  เป็นร้อยละ 19.99  ในปี 2568ทำให้ครอบครัวต้องรับภาระในการเลี้ยงดูและการพึ่งพิงสูง

    2 . โครงสร้างของครอบครัว                                                       
             จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างรวด เร็ว มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่  สังคมไทยซึ่งแต่เดิมเป็นสังคมชนบท มีความเอื้ออาทรต่อกันมีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น  โครงสร้างครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมในอดีต  ซึ่งเคยเป็นครอบครัวขยาย   แต่จากผลการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3- 7  ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลักโดยมีนโยบายด้านการวางแผนครอบครัว เพื่อมุ่งลดอัตราการเพิ่มของประชากรในครัวเรือนและนโยบายปรับปรุงคุณภาพ ประชากรและการพัฒนาจิตใจ เพื่อให้มีศักยภาพและมีความพร้อมต่อการพัฒนาและแข่งขันทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการพัฒนาสถาบันครอบครัวในทางอ้อมอัตราการเกิดลดลง ครอบครัวมีอายุยืนและมีความสามารถในการทำงานมากขึ้น ในปี 2545 มีครอบครัวขยายเพียงร้อยละ  32.1 ครอบครัวเดี่ยวมีถึงร้อยละ 55.5  นอกจากนี้    ยังพบว่า หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นหญิงมีจำนวนมากขึ้น

   3. รูปแบบครอบครัว
                ผลของการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นอกจากส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวแล้ว  ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อรูปแบบของครอบครัวด้วย  จากข้อมูลสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2542-2545 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า ครอบครัวไทยในปัจจุบันมิได้ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และ   เครือญาติดังเช่นแต่ก่อน แต่มีหลายรูปแบบ ดังนี้
     ครอบครัวขยาย    ครอบครัวขยายที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ปู่ย่าตายาย และหรือพี่น้อง ยังคงมีอยู่ในสังคมไทยแต่มีจำนวนลดลง พบว่าปี  2545 มีครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยายเพียงร้อยละ 32.1 
     ครอบครัวเดี่ยว  ครอบครัวเดี่ยว ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพ่อ แม่และลูก โดยส่วนใหญ่ครอบครัวจะมีลูกจำนวน 1-3  คน ครอบครัวที่อยู่คนเดียว   มีคนที่อาศัยอยู่ตามลำพังมากขึ้น  โดยปี 2542  มีคนที่อาศัยอยู่คนเดียวร้อยละ  11.0 เป็นร้อยละ 11.5 และ  11.8 ในปี 2544  และ 2545 ตามลำดับซึ่งแสดงให้เห็นว่าหญิงหรือชายพอใจที่จะอยู่เป็นโสดมากขึ้น ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงลูกตามลำพัง    หมายถึงครอบครัวที่มีเพียงพ่อหรือแม่ และลูก เนื่องจากสาเหตุของการหย่าร้าง การเป็นหม้าย แยกทาง การทอดทิ้ง
      ครอบครัวที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม คือครอบครัวที่สามีและภรรยาไม่สามารถมีบุตรร่วมกันได้และมีความประสงค์ที่จะ ขอรับเด็กมาอุปการะเป็นบุตรซึ่งมีจำนวนมากขึ้น

   4. ปัญหาวิกฤตของครอบครัว
                 จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างรวด เร็ว  มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่  สังคมไทยซึ่งแต่เดิมเป็นสังคมชนบท มีความเอื้ออาทรต่อกันมีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ซึ่งมีผล  ต่อปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัวทั้งทางลบและทางบวก อันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤติที่ครอบครัวเผชิญอยู่  ดังนี้
               
                1.  ปัญหาเศรษฐกิจ
                2.  ความสัมพันธ์ในครอบครัว
                3.  การสมรสน้อยลงและการหย่าร้างเพิ่มขึ้น
                4.  เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
                5. พฤติกรรมไม่เหมาะสมของวัยรุ่น                                   
                6.  ความรุนแรงในครอบครัว
                7.  ยาเสพติด
5. สาเหตุของปัญหาครอบครัว
          นโยบายและแผนในการพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2537 –2546 ได้ชี้ให้เห็นสาเหตุแห่งปัญหาครอบครัวที่สำคัญ ดังนี้
      1.ความไม่พร้อมและไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นครอบครัว การขาดความพร้อมของพ่อแม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพ อายุที่เหมาะสม ไม่เป็นโรคติดต่อความสามารถเพียงพอที่จะประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นต้น
     2.สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน   ส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำ หน้าที่ บทบาทของตนได้อย่างสมบูรณ์ และไม่อาจปรับตนเองได้
     3.สังคมไม่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัว  ว่า ครอบครัวมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงขาดจิตสำนึกและพลังร่วมกันจากทุกสถานบันในสังคม
     4.สื่อมวลชนเป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพล อย่างยิ่งต่อครอบครัวและสมาชิกของสังคมโดยสื่อมวลชนยังไม่ได้ให้ความสนใจใน การพัฒนาครอบครัวเพียงพอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น