วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แนวโน้มที่เกิดจากผละกระทบจากปัญหาครอบครัว
                จากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์และภาวะความทันสมัยที่เน้นปัจเจกบุคลและค่า นิยมในการบริโภคและวัตถุนิยมมากขึ้น ส่งผลต่อค่าครองชีพและแบบแผนของครอบครัว   ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลให้ครอบครัวมีแนวโน้มประสบปัญหา  ดังนี้
     1. โครงสร้างของครอบครัวทั้งในเมืองและในชนบทที่เป็นครอบครัวเดี่ยวจะมีแนวโน้มที่ขนาดของ ครอบครัวเล็กลง
     2. โครงสร้างของครอบครัวที่ประกอบด้วยบุคคลสองวัย คือ ผู้สูงอายุและเด็กจะมีมากขึ้นโดยเฉพาะในชนบทเนื่องจากการที่หนุ่มสาววัยแรง งานอพยพเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่
     3. ผู้สูงอายุในชนบทที่เคยมีบทบาทในการถ่ายทอดคุณธรรมและวัฒนธรรมให้แก่ ลูกหลาน และเป็นวัยที่ควรจะได้รับการดูแล  เอาใจใส่จากลูกหลาน  จะถูกปรับเปลี่ยนบทบาทและรับภาระมากขึ้น
     4. ครอบครัวที่สามีและภรรยาอยู่ร่วมกันโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสมีมากขึ้น  เนื่องจากค่านิยมในการรักอิสระ และไม่ต้องการพึ่งพิงกัน
     5. ครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงลูกตามลำพังมีมากขึ้น  เนื่องจากอัตราการหย่าร้างที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  การแยกกันอยู่ของครอบครัว
     6. การเลี้ยงดูเด็กของครอบครัว   พ่อแม่จะมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกและการอยู่กับลูกสั้นลง  เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและการให้ความสำคัญกับบทบาททางหน้าที่การงาน มากกว่าครอบครัว
     7. เด็กกำพร้าพ่อหรือแม่หรือทั้งพ่อและแม่อันเนื่องมาจากพ่อแม่เสียชีวิต จากการติดเชื้อเอดส์  มีจำนวนมากขึ้น  จากข้อมูลสถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดลประมาณการว่า ในปี  2543  มีกลุ่มเด็กอายุ 0- 5ปี ที่กำพร้าเพราะพ่อ แม่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ จำนวน  30,845  คน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น